ชนิดของ Deflocculant และปริมาณการเติม

ชนิดของ Deflocculant และปริมาณการเติม

ในเนื้อดินแต่ละประเภทนั้น จำเป็นต้องใช้ตัวช่วยกระจายลอยตัว (Deflocculant) ที่แตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับวัตถุดิบที่นำมาใช้ ความละเอียดของเนื้อดิน ความบริสุทธิ์ของน้ำที่ใช้เติมลงในหม้อบด
การเลือกใช้ตัว Deflocculant นั้น ควรจะคำนึงถึง
1. ประสิทธิภาพของตัว Deflocculant ที่ส่งผลต่อการไหลตัวของน้ำสลิป ทั้งในเรื่อง Viscosity และ Thixotropy 
2. ราคาของ Deflocculant เปรียบเทียบกับปริมาณการเติมในสูตร
3. ความสะดวกในการใช้งานและการเก็บรักษา
4. ผลข้างเคียงที่จะทำให้เกิดตำหนิกับผลิตภัณฑ์
จากกราฟของปริมาณ Deflocculant กับความหนืดของน้ำสลิบนั้น เราจะเห็นได้ว่า Deflocculant 2 ตัวที่ทดลองเติมลงในน้ำดินมีความสามารถแตกต่างกันอย่างชัดเจน โดยตัว STPP(Sodium Tripolyphosphate) นั้นเติมลงไปในปริมาณเล็กน้อยเท่านั้นแต่ช่วยลดความหนืดของน้ำดินลงได้อย่างมาก แต่ช่วงของการใช้งานก็ค่อนข้างแคบ ซึ่งถ้ามีการเติมในปริมาณที่มากเกินไปก็จะทำให้ความหนืดกลับสูงขึ้น (Over Deflcculant) ในขณะที่ตัวโซเดียมซิลิเกตนั้นต้องเติมในปริมาณที่มากพอสมควรจึงจะทำให้ความหนืดลดลงได้ แต่ก็มีช่วงในการเติมที่ค่อนข้างกว้าง นั่นหมายถึงว่าในการทำงานจริงยังมีโอกาสในการผิดพลาดได้บ้างโดยที่ไม่ทำให้น้ำดินเกิด Over Deflocculant ซึ่งเป็นปัญหาที่ไม่อาจแก้ไขได้นอกจากมีการบดน้ำดิน Batch ใหม่มาผสมหรือทำการเติมน้ำลงไปเพื่อลดความหนืด ซึ่งก็จะส่งผลถึงความหนาแน่นของน้ำดินลดลง ทำให้มีผลต่อการหล่อแบบ, มีผลต่อการ Spray น้ำดินในกรณีที่ทำผงดินแบบ Spray dryer, มีผลต่อประสิทธิภาพของการทำ Filter pressในกรณีที่ทำน้ำดินสำหรับเตรียมทำ Cake

ดังนั้นในการเลือกใช้ตัวDeflocculantนั้น จึงจำเป็นที่จะต้องทดลองหาตัว Deflocculant ที่เหมาะสมกับสูตร, วัตถุดิบ, และสภาพการทำงานของเรา รวมทั้งเปรียบเทียบต้นทุน โดยดูจากราคาของตัว Deflocculant และปริมาณที่เติมลงไป คำนวณดูว่าตัวใดจะมีต้นทุนต่ำกว่าและส่งผลให้คุณภาพของน้ำดินดีกว่า โดยปกตินั้นในการทำงานจริงมักจะมีการใช้ตัว Deflocculant มากกว่าหนึ่งตัวขึ้นไปผสมกันเพื่อให้ได้จุดที่ดีที่สุดในการทำงาน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น