ความเร็วในการหมุนหม้อบด (Critical Speed)
ในการบดนั้นจะอยู่ภายใต้แรงสามชนิด ที่จะต้องมีความสัมพันธ์กัน สอดคล้องกัน เพื่อส่งเสริมให้การบดมีประสิทธิภาพสูงสุด แรงทั้งสามชนิดนี้ คือ
1. แรงโน้มถ่วงของโลก (Gravitational Force)
2. แรงสู่ศูนย์กลาง (Centrifugal Force)
3. แรงเสียดทานระหว่างวัตถุ (Frictional Force)
ซึ่งการเคลื่อนตัวของลูกบด, วัตถุดิบและ Medium นั้น จะขึ้นอยู่กับความเร็วของการหมุนหม้อบดเป็นหลัก
จากสูตรแรงสู่ศูนย์กลาง
Wc = (60/2¶) (2g/D)½
= 42.3/(D)1/2
โดยที่ Wc = ความเร็ววิกฤติของการหมุนหม้อบด
D = เส้นผ่านศูนย์กลางของหม้อบด
ตามทฤษฎีของการเคลื่อนที่ของวัตถุที่เคลื่อนที่ด้วยความเร็ววิกฤตนั้น วัตถุนั้นจะมีความเร็วเท่ากับความเร็ววิกฤต ในกรณีของลูกบดและวัตถุดิบภายในหม้อบด ก็จะไม่เกิดการบดหรือการกระแทกกันขึ้น ความเร็วที่เหมาะสมที่จะทำให้ลูกบดตกกระทบกับวัตถุ เพื่อทำให้เกิดแรงตกกระทบกัน (Impact) และทำให้ลูกบดกับวัตถุดิบ เกิดการบดระหว่างกันและกัน (Grinding) จะอยู่ที่ 60 - 80 % ของความเร็ววิกฤต ขึ้นอยู่กับว่าการบดของเรานั้น เป็นการบดแห้ง หรือว่าบดเปียก
กรณีที่เป็นการบดเปียก จะใช้ความเร็วที่ 0.7 - 0.8 Wc
กรณีที่เป็นการบดแห้ง จะใช้ความเร็วที่ 0.6 - 0.7 Wc
ที่ความเร็วนี้ จะทำให้ลูกบดถูกพาขึ้นไปและตกกระทบลงมาด้วยแรงโน้มถ่วง ถ้าในกรณีที่ความเร็วของหม้อบดมีค่าต่ำเกินไป หม้อบดไม่สามารถที่จะพาลูกบดขึ้นไป เพื่อให้เกิดการตกกระทบลงมาได้ก็จะมีเพียงแรงเสียดทานระหว่างวัตถุเท่านั้นที่จะทำหน้าที่ในการบดย่อยวัตถุดิบ ซึ่งจะใช้เวลานานมากในการบดวัตถุดิบให้ละเอียดได้ แต่ถ้าความเร็วของหม้อบดเร็วมากกว่าระดับ 80 % ของความเร็ววิกฤต แต่ยังไม่ถึงความเร็ววิกฤต จะเกิดสภาพที่ลูกบดตกกระทบกับวัตถุดิบและลูกบดด้วยกันเองแรงเกินไป จนทำให้เกิดการสึกหรือแตกของลูกบดได้รวดเร็ว สภาพนี้เรียกว่า Cataracting
มุม Cataracting คือ มุมที่เหมาะสมที่ความเร็วของหม้อบด ยกเอาลูกบดขึ้นไป จนถึงจุดที่สมดุลกันระหว่างแรงสู่ศูนย์กลางและแรงโน้มถ่วง และทำให้ลูกบดตกลงมากระแทกกับลูกบดอื่น ๆ และวัตถุดิบ มุมที่เหมาะสมนี้จะเท่ากับ 45° ทำมุมกับแนวเพลาของหม้อบด
ส่วนสภาวะที่ความเร็วของหม้อบดไม่พอเพียงที่จะยกให้ลูกบดขึ้นไปและตกกระทบลงมาได้นั้น ลูกบดก็จะทำหน้าที่เพียงแค่เป็นตัวเสียดสีกับวัตถุดิบและลูกบดด้วยกันเองซึ่งทำให้เวลาในการบดยาวนานขึ้นเราเรียกสภาวะนี้ว่า Cascade-Condition
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น