ปริมาณของวัตถุที่เติม และปริมาณของ Medium ที่เติม

ปริมาณของวัตถุที่เติม และปริมาณของ Medium ที่เติม

จากการคำนวณปริมาตรที่เหลือของหม้อบด หลังจากเติมลูกบดลงไปแล้วนั้น เราจะเหลือปริมาตร หรือช่องว่างอยู่อีก 67 % ของปริมาตรหม้อบด การคำนวณปริมาตรวัตถุดิบและ Medium ที่เติมลงไปนั้นจะต้องเว้นช่องว่างของปริมาตรหม้อบดเอาไว้อีก 25 % ด้วยเหตุผลที่ว่าจะต้องเหลือช่องว่างที่ให้โอกาสวัตถุดิบ และลูกบดมีการเคลื่อนที่ได้ และมีช่วงของการตกกระทบซึ่งกันและกัน อีกเหตุผลที่สำคัญก็คือ ในการเติมวัตถุดิบลงไปในหม้อบดนั้น วัตถุดิบทั้งหมดไม่ว่าจะมีขนาดใหญ่หรือเล็ก จะไม่สามารถแทรกผ่านไปตามช่องว่างระหว่างลูกบดที่มีอยู่ในหม้อบดได้ ดังนั้น 22 % ที่เป็นช่องว่างของลูกบดจะแทบไม่มีวัตถุดิบแทรกเข้าไปได้เลย จนกว่าเราจะเริ่มหมุนหม้อบดให้มีการเคลื่อนตัวของลูกบดและวัตถุดิบ จนกระทั่งวัตถุดิบและ Medium สามารถแทรกเข้าไปอยู่ในช่องว่างของลูกบดได้

ดังนั้น ปริมาตรที่เป็นช่องว่างของหม้อบดที่ใช้ในการบดอย่างมีประสิทธิภาพ จะเท่ากับ 22 % ของช่องว่าง ระหว่างลูกบด กับ 20 % ของช่องว่างหม้อบดที่เหลือ = 42 % ของปริมาตรหม้อบด
เมื่อเราทราบแล้วว่าเราสามารถเติมวัตถุดิบและ Medium ได้ เท่ากับ 42 % ของปริมาตรหม้อทั้งหมด เราก็คำนวณเป็นน้ำหนักทั้งหมดที่จะเติมลงไปในหม้อบดได้

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น